ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลพื้นฐาน

ข้อมูลบริบทตำบล
ประวัติชุมชน
ประวัติความเป็นมาของตำบลมหาสวัสดิ์
เดิมที่มีชาวบ้านคนหนึ่ง ชื่อนายสวัสดิ์ได้มาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านนี้และเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน  ประกอบกับได้ทำคุณงามความดีให้กับหมู่บ้านมาตลอด ซึ่งต่อมาได้บวชเป็นพระและได้เป็น มหาในภายหลังเมื่อเสียชีวิตลงชาวบ้านเห็นว่าเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ระลึกถึงคุณงามความดีของนายสวัสดิ์หรือมหาสวัสดิ์คนนี้     จึงได้ขนานนามตำบลนี้ว่า ตำบลมหาสวัสดิ์
ในอดีตประชาชนในหมู่บ้านคลองมหาสวัสดิ์ มีการตั้งบ้านเรือนอยู่ตามบริเวณริมน้ำและใช้น้ำจากคลองมหาสวัสดิ์ทั้งอุปโภค และบริโภคส่วนการสัญจรไปมาของคนในชุมชนนี้จะเดินทางโดยเรือซึ่งมีทั้งเรือส่วนตัวและเรือพายรับจ้าง แต่ถ้าบ้านใดมีฐานะก็จะซื้อเรือเครื่องมาไว้รับจ้าง ซึ่งเรือเครื่องชนิดนี้สามารถบรรทุกคนได้มากและรวดเร็วกว่าเรือพายธรรมดาหลายเท่าจึงเป็นที่นิยมในการโดยสารไปมาของคนในชุมชนนี้ อีกทั้งเส้นทางของเรือเครื่องก็ไปไกลกว่าเรือพายธรรมดาผู้ที่จะเดินทางเข้ากรุงเทพก็จะต้องโดยสารเรือนี้เช่นกัน  ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2485 มีเส้นทางรถไฟสายใต้ผ่านตำบลมหาสวัสดิ์ และมีสถานีรถไฟคลองมหาสวัสดิ์เกิดขึ้น ประชาชนในเขตตำบลมหาสวัสดิ์จึงเปลี่ยนความนิยมมาใช้การเดินทางโดยรถไฟแทนเนื่องจากมีความปลอดภัยกว่า แต่การพายเรือในคลองมหาสวัสดิ์ก็ยังคงมีอยู่เช่นเดิมวิถีชีวิตของคนในชุมชนคลองมหาสวัสดิ์จะเป็นแบบเรียบง่าย และยังไม่มีไฟฟ้าใช้กลางคืนต้องใช้แบบจุดตะเกียง  การคมนาคมทางบกก็ยังไม่ค่อยสะดวก  ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2514 ได้มีสร้างถนนตัดผ่านหมู่บ้านซึ่งเป็นถนนลูกรัง  และต่อมาเมื่อปี  พ.ศ. 2516 ก็เริ่มมีไฟฟ้าใช้  เมื่อปี พ.ศ. 2530     ก็ได้มีการปรับปรุงถนนเป็นถนนลาดยางปัจจุบันวิถีชีวิตของคนในชุมชนมหาสวัสดิ์มีการเปลี่ยนแปลงไปซึ่งก็เป็นไปตามยุคสมัยที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ทำให้ความเป็นอยู่ของคนในชุมชนดีขึ้น
      - ความเป็นมา หมู่ที่ 1 บ้านศาลานกกระจอก แต่ก่อนมีศาลาสำหรับให้ผู้คนที่จะรอโดยสารเรือที่จะมาตามคลองมหาสวัสดิ์ เพื่อไปทำภารกิจ เนื่องจากไม่มีถนนเหตุเพราะผู้คนยังมีจำนวนน้อย ศาลาแห่งนี้จึงมีนกกระจอกมาอาศัยทำรังจำนวนมากผู้คนที่ผ่านไปมาเห็นดังนั้น จึงเรียกศาลานี้ว่า “ศาลานกกระจอก" ต่อมาได้ใช้เป็นชื่อหมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน
      -   ความเป็นมา หมู่ที่ 2 บ้านคลองมหาสวัสดิ์ เป็นหนึ่งในหมู่บ้านของตำบลมหาสวัสดิ์ ตั้งชื่อตามคลองมหาสวัสดิ์ ซึ่งเป็นสายน้ำที่สำคัญหล่อเลี้ยงชีวิตของคนในชุมชนนี้มาช้านานโดยถึงขุดขึ้นด้วยพระกรุณาของรัชกาลที่  4  (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)   โปรดเกล้าให้พระยาธิพากรวงศ์ มาหาโกษาธิบดี(ขำ บุญนาค)  เป็นผู้ดำเนินการขุดคลอง ซึ่งคลองนี้เริ่มขุดเมื่อปี  พ.ศ. 2389  เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการรองรับน้ำ เพื่อใช้ในการอุปโภค บริโภคและขยายอาณาเขตเพิ่มพื้นที่การใช้การคมนาคมทางน้ำสะดวกขึ้น ซึ่งแต่เดิมเส้นทางเดินเรือสายหลัก ในการสัญจรระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำท่าจีน คือ คลองโยง แต่ประชาชนเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นทำให้การจราจรในคลองโยงมีความแออัดมาขึ้น จึงทำให้มีการขุดคลองมหาสวัสดิ์ขึ้นมาอีกสายหนึ่ง เพื่อใช้ในการสัญจรไปมา รวมทั้งขนส่งสินค้าที่สำคัญระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำท่าจีน โดยสินค้าส่วนใหญ่ได้แก่ ข้าว น้ำตาล กล้วย มะพร้าว ส่งขายซึ่งผลิตได้จากพื้นที่ลุ่มน้ำนี้เอง นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองมหาสวัสดิ์เป็นจำนวนมาก จึงเกิดเป็นชุมชนต่างๆ ขึ้นมามากมายและในชุมชนจะต้องมีการสร้างศาลาไว้ริมน้ำเพื่อเป็นท่าขึ้นลงและไว้ประชุม ของแต่ละชุมชนนั้น โดยจะเรียกขานชื่อของชุมชนนั้นๆ ตามลักษณะเด่นของชุมชนที่มีอยู่ ซึ่งมีทั้งหมด 7 ศาลา คือ ศาลาหนึ่ง , ศาลาสอง , ศาลาสาม , 
ศาลาสี่ (ศาลากลาง) , ศาลาห้า (ศาลาทำศพ) , ศาลาหก (ศาลายา) , ศาลาเจ็ด (ศาลาดิน)
      ปัจจุบันศาลาทั้งเจ็ดไม่มีร่องรอยให้เห็นแล้ว โดยผู้เฒ่าผู้แก่ที่อาศัยอยู่ริมคลองสมัยนั้นเล่าให้ฟังว่า ศาลาที่สี่
อยู่ที่ตำบลศาลา อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ศาลาที่ห้า สมัยนั้นเล่ากันว่าเป็นศาลาคู่ตั้งศพเพื่อทำพิธีฌาปณกิจศพ อยู่ตรงกิโลเมตร 15 ริมทางรถไฟสายใต้ปัจจุบันเรียกศาลาธรรมสพน์ อยู่เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ศาลาที่หก (ศาลายา) อยู่บริเวณหมู่ที่ 3 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กล่าวกันว่าเป็นศาลาที่มีการจารึกตำรายาไว้ ใครผ่านไปมาก็สามารถจดจำเอาไปใช้ได้ ศาลาสุดท้าย คือ ศาลาดิน อยู่บริเวณหมู่ที่ ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กล่าวกันว่าเป็นสถานที่ฝังศพ ในสมัยนั้น ซึ่งหลังจากมีการขุดคลองเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2403 รัชกาลที่ 4 ก็ได้พระราชทานนามคลองแห่งนี้ว่า “คลองมหาสวัสดิ์” ซึ่งเป็นชื่อของ “มหาสวัสดิ์” บุคคลที่ชาวบ้าน ให้ความนับถือ และยังเป็นผู้ช่วยของพระยาทิพากรวงศ์ มาหาโกศาธิบดีซึ่งคลองที่ขุดนี้มีขนาดกว้าง 7 วา ลึก 6 ศอก ยาว 27 กิโลเมตร แต่ในปัจจุบันคลองมหาสวัสดิ์มีความกว้างไม่ต่ำกว่า 40 เมตร ลึกประมาณ 7 เมตร มีจุดเริ่มต้นที่คลองบางกอกน้อยเริ่มที่วัดชัยพฤกษ์มาลา เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ไปออกสู่แม่น้ำท่าจีน ตรงบริเวณศาลเจ้าสุบิน ตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 
      - ความเป็นมา หมู่ที่ 3 บ้านศาลาดิน คลองมหาสวัสดิ์ เป็นคลองที่ขุดขึ้นเพื่อใช้เป็นเส้นทางเดินเรือขนส่งสินค้าระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำท่าจีน จึงทำให้เกิดชุมชนสองฝั่งคลองมหาสวัสดิ์เป็นจำนวนมาก ในแต่ละชุมชนจะต้องมีการสร้างศาลาไว้ริมน้ำเพื่อใช้ขึ้นลงเรือ โดยจะเรียกขานชื่อศาลานั้น ๆ ตามลักษณะของชุมชน 
ซึ่งศาลาตลองคลองมหาสวัสดิ์ มีอยู่ 7 ศาลา ศาลาดิน ตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณ หมู่ที่ 3 ตำบลมหาสวัสดิ์ จึงเป็นที่มาของชื่อ บ้านศาลาดิน 
      - ความเป็นมา หมู่ที่ 4 บ้านคลองโยง เป็นหมู่บ้านเดียวของตำบลมหาสวัสดิ์ ที่อยู่ติดกับคลองโยง 
ตลอดแนวยาวของพื้นที่ ซึ่งสันนิษฐานว่าชื่อหมู่บ้านคลองโยง อาจเรียกขานตามชื่อลำคลองที่ไหลผ่านหมู่บ้าน
จึงได้ชื่อว่า  บ้านคลองโยง มาจนปัจจุบัน 
สภาพภูมิศาสตร์/แผนที่
อาณาเขตการปกครอง  ตำบลมหาสวัสดิ์  มีหมู่บ้านทั้งหมด  4 หมู่บ้าน  ดังนี้
หมู่ที่  1   บ้านศาลานกกระจอก
หมู่ที่  2   บ้านคลองมหาสวัสดิ์
หมู่ที่  3   บ้านศาลาดิน
หมู่ที่  4   บ้านคลองโยง
อาณาเขตที่ตั้งของตำบลมหาสวัสดิ์
ทิศเหนือ                   ติดต่อกับตำบลลานตากฟ้า  อำเภอนครชัยศรี  จังหวัดนครปฐม
                              ติดต่อกับตำบลคลองโยง  อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม
ทิศใต้                       ติดต่อกับตำบลหอมเกร็ด  อำเภอสามพราน  จังหวัดนครปฐม
                             ติดต่อกับตำบลทรงคะนอง  อำเภอสามพราน  จังหวัดนครปฐม
                             ติดต่อกับตำบลบางเตย  อำเภอสามพราน  จังหวัดนครปฐม
ทิศตะวันออก             ติดต่อกับตำบลศาลายา  อำเภอสามพราน  จังหวัดนครปฐม
ทิศตะวันตก               ติดต่อกับตำบลลานตากฟ้า  อำเภอนครชัยศรี  จังหวัดนครปฐม
                             ติดต่อกับตำบลงิ้วราย  อำเภอนครชัยศรี  จังหวัดนครปฐม
                             ติดต่อกับตำบลไทยาวาส  อำเภอนครชัยศรี  จังหวัดนครปฐม

การเมืองการปกครอง
ตำบลมหาสวัสดิ์  สมัยก่อนจะมีการปกครองโดยมีกำนันเป็นผู้ปกครองในระดับตำบล และยังไม่มีการแบ่งเขตที่แน่นนอนกำนันที่ได้มาจากการคัดเลือกจากบุคคลที่เป็นคนดีและชาวบ้านให้ความเคารพยกย่องนับถือซึ่งกำนันคนแรกของตำบลมหาสวัสดิ์  คือ กำนันแดง (ขุนมหาสวัสดิ์) ซึ่งอยู่ในสมัยรัชการที่ 5 กำนันคนต่อมา คือ  กำนันขาว  ไทยนิยม  ซึ่งเป็นบุตรชายของกำนันแดง มาได้รับตำแหน่งแทนหลังจากกำนันแดงเสียชีวิตลง ก็ได้มีการคัดเลือกกำนันขาวเป็นกำนันแทน  จนกระทั้งต่อมากำนันขาวเสียชีวิตก็คัดเลือกกำนันเขียว ไทยนิยม บุตรกำนันขาวรับตำแหน่งแทน  ช่วงกำนันเขียวได้ มีการกำหนดเกณฑ์การเกษียณเมื่ออายุครบ  60  ปี  และในสมัยกำนันเขียว  ได้มีการแบ่งการปกครองของหมู่บ้านออกเป็น 4 หมู่บ้าน และได้ให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้นมาปกครองหมู่บ้านแต่ละหมู่และจากการได้ผู้ใหญ่บ้านแล้วได้มีการคัดเลือกกำนันจากผู้ใหญ่ทั้ง 4  หมู่บ้าน โดยการยกมือซึ่งสมัยนั้นได้มีนายอำเภอเป็นพยานการคัดเลือกและได้กำนันยนต์  สุดใจ เป็นกำนันคนต่อมา  และในสมัยกำนันยนต์  ได้มีการริเริ่มตัดถนนเข้าหมู่บ้านเพื่อให้มีการคมนาคมสะดวกขึ้น  หลังจากกำนันยนต์  เกษียณแล้วได้มีการเลือกกำนันแทนกำนันที่เกษียณมาโดยตลอด  และในปัจจุบันนายมานพ   ทรัพย์แสนดี  เป็นกำนันตำบลมหาสวัสดิ์  โทร.  083-3098355

ข้อมูล ปี พ.ศ. 2557
 
ปี พ.ศ. 2539  ได้มีการประกาศตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์  และในปัจจุบันมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์  ชื่อนายสุเทพ  เพ็งนาเรนทร์ โทร. 081-9297034

ด้านศาสนา
ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  จะไปประกอบพิธีทางศาสนาและทำบุญที่วัดใกล้บ้าน   เช่น วัดสุวรรณาราม  ตำบลศาลายา วัดงิ้วราย  ตำบลงิ้วราย และวัดมหาสวัสดิ์นาคพุทธาราม  ตำบลหอมเกร็ด  เป็นประจำส่วนมากจะเป็นงานทำบุญตามเทศกาลและวันสำคัญทางศาสนา  บวชพระ  งานศพ  เป็นต้น 
***  ส่วนในตำบลมหาสวัสดิ์  ไม่มีวัด
  
ลักษณะชุมชนและประชากร
รายการ
ตำบล
หมู่ที่ 1
หมู่ที่ 2
หมู่ที่ 3
หมู่ที่ 4
จำนวนประชากรทั้งหมด
8,827
2,342
879
1,643
3,963
-                    ชาย
4,103
1,126
412
722
1,865
-                    หญิง
4,724
1,216
467
921
2,098
จำนวนครัวเรือน
3,843
916
219
917
1,791

จำนวนประชากรตำบลมหาสวัสดิ์  มีทั้งหมด  4  หมู่บ้าน  แยกตามหมู่บ้านดังนี้
หมู่ที่
ชื่อหมู่บ้าน
ชาย
หญิง
รวม
1
บ้านศาลานกกระจอก
1,126
1,216
2,342
2
บ้านคลองมหาสวัสดิ์
412
467
879
3
บ้านศาลาดิน
722
921
1,643
4
บ้านคลองโยง
1,865
2,098
3,963

                                             รวม
4,103
4,724
8,827

**ฐานข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน (อำเภอพุทธมณฑล) กรมการปกครอง 1 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557

จำนวนประชากรตำบลมหาสวัสดิ์  แยกตามช่วงอายุ
ช่วงอายุ (ปี)
ชาย
หญิง
รวม
น้อยกว่า  5  ปี
336
310
646
6 – 14  ปี
466
470
936
15 – 39  ปี
1,588
1,757
3,345
40 – 59  ปี
1,304
1,645
2,949
60 ปีขึ้นไป
406
538
994
                                                        รวม
4,103
4,724
8,827

**ฐานข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน (อำเภอพุทธมณฑล) กรมการปกครอง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557